
กสทช สนับสนุนงบให้สถานพยาบาลของรัฐสู้กับco vid19
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือกสทช เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสทช วาระพิเศษได้อนุมัติสนับสนุนงบประมาณให้สถานพยาบาลของรัฐต่อสู้กับco vid19 เพิ่มเติมเป็นล็อตที่ 2 อีก 19 โรงพยาบาล 21 โครงการ วงเงินงบประมาณรวม 200204007 บาท จากเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ เนื่องจากโครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์กองทุน กทปส มาตรา 52 1 และ 52 2 ดังนี้
1 โครงการพัฒนาและขยายระบบบริหารรักษาพยาบาลเพื่อรองรับสถานการณ์ co vid19 ของโรงพยาบาลชลบุรี วงเงิน 11117600 บาท
2 โครงการเพิ่มศักยภาพการให้บริการสุขภาพ เพื่อรองรับการแพร่ของ co vid19 ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วงเงิน 13840750 บาท
3 โครงการ AIRICU OR สำหรับผู้ติด co vid19 ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย ของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช วงเงิน 11050000 บาท
4 โครงการรองรับสถานการณ์การแพร่ของco vid19ของโรงบาลพระปกเกล้า วงเงิน 7900000 บาท
5 โครงการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช วงเงิน 9657907 บาท
6 โครงการจัดทำ Negative Room เพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ติด co vid19 ที่มีภาวะวิกฤต ของโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก วงเงิน 14340000 บาท 7 โครงการดูแลผู้ติด co vid19 ลำพูน ของโรงพยาบาลลำพูน วงเงิน 9980000 บาท
8 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ สู้ภัยco vid19 ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ วงเงิน 22755000 บาท
9 โครงการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากco vid19 โรงพยาบาลสมุทรสาคร ของโรงพยาบาลสมุทรสาคร วงเงิน 9600000 บาท
10 โครงการพัฒนาศักยภาพห้องบำบัดผู้ติด co vid19 ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา วงเงิน 5518800 บาท 11 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลดูแลผู้ติด co vid19 ของโรคพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วงเงิน 8840000 บาท
12 โครงการ No touch co vid19 in patient Ward ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล วงเงิน 7790000 บาท
13 โครงการปรับปรุงห้องปฏิบัติการแรงดันลบสำหรับการตรวจหาสารพันธุกรรม co vid19 ของศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน วงเงิน 8946000 บาท
14 โครงการโรงพยาบาลภาคสนามของรัฐ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วงเงิน 4445000 บาท 15 โครงการพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยงco vid19ด้วยอุปกรณ์เซนเซอร์ชนิดที่ไม่ได้รุกล้ำเข้าในร่างกายร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ ของคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณะสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วงเงิน 3992000 บาท
16 โครงการ Telemedical monitoring device for co vid19 quarantine patient ของโรงพยาบาลตรัง วงเงิน 2040000 บาท
17 โครงการเพิ่มศักยภาพรับมือการแพร่ co vid19 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วงเงิน 10087000 บาท
18 โครงการแชทบอร์ดปัญญาประดิษฐ์เพื่อการดูแลสุขภาพจิตและการช่วยเหลือด้านอารมณ์และสุขภาพจิตในภาวการณ์แพร่ของ co vid19 ของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วงเงิน 6605000 บาท
19 โครงการพัฒนาต้นแบบระบบติดตามประชาชนเพื่อการบริหารจัดการแพร่ของ co vid19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วงเงิน 6200000 บาท
20 โครงการพัฒนาการศักยภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเพื่อรองรับสถานการณ์แพร่ ติดco vid19 ของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ วงเงิน 12423950 บาท
21 โครงการ การแพทย์ฉุกเฉินและแพทย์ทางไกล ช่วยเหลือสถานการณ์แพร่co vid19 ของพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วงเงิน 13075000 บาท
นายฐากร กล่าวว่า การสนับสนุนเงินให้กับโรงพยาบาลและสถานพยาบาลของรัฐในครั้งนี้เป็นการพิจารณาสนับสนุนโดยใช้เงินของกองทุน กทปส ล็อตที่ 2 ต่อเนื่องจากครั้งก่อน ซึ่งจนถึงขณะนี้พิจารณาคำขอสนับสนุนไปแล้ว 410 คำขอ อนุมัติเงินสนับสนุนให้กับโรงพยาบาลและสถานพยาบาลของรัฐเพื่อดำเนินการต่อสู้กับco vid19 แล้วเป็นเงิน 457 ล้านบาท ยังคงเหลือวงเงินที่จะให้การสนับสนุนโรงพยาบาลในการต่อสู้กับco vid19 อีกประมาณ 290 ล้านบาท เหลือคำขอที่จะต้องพิจาณาอีกประมาณ 600 คำขอและยังเปิดรับคำขอรับการสนับสนุนจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 63
ขอบคุณที่มา dailynews
เรียบเรียง siamtoday